หน้าเว็บ

แนวโน้มของการประยุกต์ใช้ข้อมูลรีโมทเซนซิงในอนาคต

        เป็นที่ตระหนักว่า ข้อมูลรีโมทเซนซิงมีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายมหาศาล อย่างไรก็ตามการใช้ข้อมูลรีโมทเซนซิงในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ของโลกที่ซับซ้อนและยุ่งยากในปัจจุบันนี้เพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินปัญหาได้ถูกต้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาข้อมูลอย่างอื่นมาประกอบด้วยเพื่อช่วยให้มีการวางแผนการตัดสินใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

        การใช้ข้อมูลรีโมทเซนซิงจะมปี ระโยชน์สูงสดุ ถ้าหากนำไปผสมผสานกับข้อมูล GIS และข้อมูล จากระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System หรือ GPS)ซึ่งทั้งสามระบบนี้เมื่อนำมารวมกันจะเรียกว่า “Geoinformatic” ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ในลักษณะสหสาขา ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ การวางนโยบาย การปฏิบัติการการวางแผนและการตัดสินใจเพ่อื การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และสภาพแวดล้อม (ดาราศรี,2541) และเมื่อนำเอาระบบ Geoinformatic มาประกอบเข้ากับระบบสื่อสารดาวเทียมที่กำลังก้าวหน้าอยู่ในปัจจุบันนี้ จะทำให้เกิดมิติใหม่ด้านสารสนเทศเชิงพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และด้านอื่นๆ เช่นการก่อสร้างต่าง ๆ และการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น












ที่มา : http://www.ee.eng.cmu.ac.th/~tharadol/teach/912706/geo_03.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น