หน้าเว็บ

ความหมาย และ ความสําคัญ

  การสํารวจจากระยะไกล เปนวิชาคอนขางใหม เพราะเริ่มบัญญัติศัพทนี้เมื่อป พ.ศ. 2503
โดยประเทศสหรัฐอเมริกา วิชานี้เปนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่ใชในการบงบอก
จําแนก หรือวิเคราะหคุณลักษณะของวัตถุ และ พื้นที่ โดยปราศจากการสัมผัสโดยตรง
(สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ , 2540, หนา 2 )

        คําวา “รีโมทเซนซิ่ง“ (Remote Sensing) ประกอบขึ้นมาจากการรวม 2 คําซึ่งแยกออกไดดังนี้
คือ
                  Remote = ระยะไกล
                  Sensing = การรับรู
        
        หากรวมคํา 2 คําเขาดวยกัน "Remote Sensing" จึงหมายถึง "การรับรูจากระยะไกล"
โดยมีนิยามความหมายนี้ไดกลาวไววา
      
        “การสํารวจจากระยะไกล”
คําจํากัดความ รีโมทเซนซิ่งในชวงปค.ศ. 1960 คือ
     “การใชพลังงานแมเหล็กไฟฟาในการบันทึกภาพสิ่งที่อยูโดยรอบ ซึ่งสามารถนําภาพมา
ทําการแปลความ เพื่อใหไดมาซึ่งขอมูลที่เปนประโยชน“  และหลังจากปค.ศ. 1960 เปนตนมา คํานิยามของ รีโมทเซนซิ่ง ก็ไดมีความหลากหลายมากขึ้นตามความแตกตางของลักษณะวิชาที่เกี่ยวของ เชน

      Lillesand and Kiefer (1994) ไดกลาววา:
         “remote sensing is the science and art of obtaining information about an
object, area, or phenomenon through the analysis of data acquired by a device
that is not in contact with the object, area or phenomenon under investigation”

      สุรชัย (2536) ไดกลาววา :
        “รีโมทเซนซิง เปนวิทยาศาสตรและศิลปะของการไดมาซึ่งขอมูลเกี่ยวกับวัตถุ
พื้นที่หรือปรากฏการณจากเครื่องบันทึกขอมูล โดยปราศจากการเขาไปสัมผัสวัตถ
ุเปาหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแมเหล็กไฟฟาเปนสื่อในการไดมาของขอมูล
3 ลักษณะคือ ชวงคลื่น (spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุ(Spatial) บนพื้นโลก
และการเปลี่ยนแปลงตามชวงเวลา (Temporal)


        หากพิจารณาตามความหมายที่กลาวมา การสํารวจจากระยะไกล จะเกี่ยวของกับ
การสํารวจเก็บบันทึกขอมูลอยางเปนระบบ ซึ่งประกอบดวย แหลงขอมูลที่ตองการศึกษา (Data
Source) พลังงานคลื่นแมเหล็กไฟฟา (Electromagnetic Energy) อุปกรณบันทึกขอมูล (Sensor)
และกรรมวิธีประมวลผลขอมูล (Data Processing)
ในปจจุบันนี้อาจกลาวไดวา รีโมทเซนซิ่ง เปนเครื่องมือทางการวิจัยที่มีประสิทธิภาพมาก
เพราะไดขอมูลที่ทันตอเหตุการณ เปนขอมูลที่ครอบคลุมบริเวณกวาง และสามารถบันทึกภาพ
ในบริเวณเดิมในเวลาที่แนนอน เหมาะที่จะนํามาใชศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเปน
ขอมูลที่เพิ่มประสิทธิภาพของมนุษยในการวางแผนงานและการตัดสินใจไดดีขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น