หน้าเว็บ

การวิเคราะหและจําแนกรายละเอียดขอมูลแผนภาพหรือแผนฟลมดวยสายตา

การแสดงภาพสี (Colour Display )

        การแสดงสีของขอมูลดาวเทียมมีความสําคัญตอการแปลขอมูลดวยสายตามาก เนื่องจากตาของมนุษยสามารถจําแนกภาพสีไดมากกวาภาพสีเทา ดังนั้นการใชภาพสีจึงสามารถชวยในการเพิ่มรายละเอียดตาง ๆ ในภาพไดดีกวาสีขาวดํา การทําภาพผสมสี (Color composite)เพื่อสรางสีขึ้นมาใหมจากขอมูลหลายชวงคลื่น ซึ่งแยกออกไดอีก 2 วิธี (รูปที่ 6) คือ


  1. การทําภาพผสมสีบวก (Additive Primary Color) โดยทําใหแตละแบนดที่เปนสีขาว-ดํา กลายเปนสีบวก ใชแหลงกําเนิดแสง 3 สีคือ สีน้ําเงิน (Blue) สีเขียว (Green)และสีแดง (Red) เมื่อนํามาซอนทับกันทําใหไดภาพสีผสม ปรากฏสีตาง ๆซึ่งเปนไปตามทฤษฎีเชน ภาพที่ไดจากการแสดงผลหลายชวงคลื่นจอกราฟกสีการทําภาพผสมสีลบ (Subtractive Primary Color) สรางจากการผสมระหวางแมสี
  2. การทําภาพผสมสีลบ (Subtractive Primary Color) สรางจากการผสมระหวางแมสีสีน้ําเงินเขียว (Cyan) มวงแดง (Magenta) และเหลือง (Yellow) เชน การพิมพภาพสี เปนตน


การสรางภาพสีผสมเท็จ

        ภาพสีผสมเท็จ ( False Color Composite) เปนการแสดงภาพโดยใชชวงคลื่นตั้งแต 3 ชวงมาซอนกันแลวใสสีลงบนแตละชวงคลื่น เชน ใชแบนดสีเขียวเปนสีน้ําเงิน ใชแบนดสีแดงเปนสีเขียว และใชแบนดอินฟราเรดใกลเปนสีแดง ผลที่ไดเปนภาพสีเท็จ พืชพรรณจะมีสีแดงซึ่งจะชวยทําใหผูแปลจําแนกวัตถุตางชนิดไดดีขึ้น รูปที่ 7 เป็น ตัวอยางการทําภาพผสมสีเท็จแบนด 3 5 4 (น้ําเงิน เขียว แดง หรือ BGR) ของดาวเทียมระบบ ETM บริเวณอําเภอจอมทองบันทึกภาพเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 รูปที่ 8 เปนการแปลความหมายดวยสายตาของสิ่งปกคลุมดินที่อยูบนภาพสีผสมเท็จ








การแปลความหมายภาพจากดาวเทียมด้วยสายตา

        การแปลภาพ (Image Interpretation) เป็นวิธีการแปลความหมายจากข้อมูลภาพด้วยสายตาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ เช่นลักษณะการใช้ที่ดิน การเลือกแปลภาพด้วยสายตาโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นข้อมูลที่อยู่ในลักษณะแผ่นภาพ หรือแผ่นฟิล์ม การจำแนกข้อมูลด้วยวิธีนี้มักจะประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ไดจ้ ากภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพดาวเทียมเขา้ กับขอ้ มูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม
        ผู้ที่สามารถจะทำการแปลภาพได้ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เช่น มีพื้นความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องพอสมควร มีสภาพความคิดที่กว้างไกล สามารถที่จะประมวลเรื่องราวหลายอย่างเข้าด้วยกัน และมีความคิดพิจารณาอยู่เสมอ เพื่อที่จะนำไปสู่การตีความให้ดียิ่งขึ้นและ มีประสบการณ์ ในการแปลข้อมูลมาแล้วพอสมควรนอกจากคุณสมบัติของผู้แปลแล้วยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ควรจะนำมาพิจารณาร่วมด้วย คือ

  1. คุณภาพของข้อมูล เช่นควรเป็นภาพที่มีมาตราส่วนที่เหมาะสม ได้จากการเก็บบันทึกข้อมูลที่ดี ไม่มีความบกพร่องของระบบบันทึกข้อมูล
  2. ความพร้อมของอุปกรณ์ ซึ่งจะช่วยในการแปลข้อมูลภาพได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น เช่น เครื่องมองภาพสามมิติ (Stereoscope) ช่วยให้ผู้แปลสามารถมองเห็น ความสูงต่ำของวัตถุ หรือภูมิประเทศในภาพถ่ายทางอากาศ และเครื่องถ่ายทอดรายละเอียดจากแผ่นฟิล์มของข้อมูลภาพดาวเทียม (Image projector)ช่วยให้ผู้แปลสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการออกมาจากภาพได้รวดเร็ว เป็นต้น

  • ขั้นตอนในการแปลภาพ
การแปลภาพดาวเทียมอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2540, หน้า 148) ดังนี้
  1. การอ่านข้อมูลภาพ เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการแปลภาพจากดาวเทียม เพื่อบ่งบอกสิ่งที่ปรากฏในภาพ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับ รูปร่าง ขนาด รูปแบบ ความเข้มความหยาบละเอียดสี (Texture) เงา และความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง (Association)กับวัตถุข้างเคียงหรือสภาพภูมิประเทศ
  2. การวัดปริมาณเชิงกายภาพ เช่น ความยาว แหล่งที่ตั้ง ความสูง อุณหภูมิ หรือ อื่น ๆโดยอาศัยข้อมูลอ้างอิง หรือข้อมูลที่ได้จากการเปรียบเทียบ
  3. การวิเคราะห์ภาพ เป็นการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้จากการแปลกับสถานการณ์จริง เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการแปลให้มีความถูกต้องยิ่งขึ้น

ผลสุดท้ายก็คือการจัดทำแผนที่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ แผนที่ที่ได้จากการแปลภาพนี้
เรียกว่า“แผนที่เฉพาะเรื่อง”

  • คู่มือในการแปล
        เนื่องจากผู้แปลภาพมีความแตกต่างกันในเรื่องความรู้เดิม ประสบการณ์ในการแปลและความเคยชิน อาจทำให้ผลการแปลภาพออกมาไม่ตรงกัน ดังนั้น จึงได้แสดงคู่มือมาตรฐานเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแยกแยะวัตถุตามหลักการอ่านข้อมูลภาพ เช่น ตารางที่ 3แสดงตัวอย่างคู่มือการแปลสิ่งปกคลุมดินจากภาพข้อมูลดาวเทียม LANDSAT





ที่มา : http://www.ee.eng.cmu.ac.th/~tharadol/teach/912706/geo_03.pdf

       



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น